วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายงานนวัตกรรมเกมการละเล่นของเด็กปฐมวัย

นวัตกรรมเกมการละเล่นของเด็กปฐมวัย



เสนอ

ดร.ชฎาภรณ์ สงวนแก้ว



จัดทำโดย

นางสาว วรรณประภา หงษ์ประไพ
เลขที่ 8 ป.บัณฑิต รุ่น 4 (ไทยเข้มแข็ง)



รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
รหัสวิชา 951-202
ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2553

วิทยาลัยราชพฤกษ์
คำนำ

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่เกิดจากการลงมือกระทำผ่านกิจกรรมและการเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้เกิดความสมดุลของระบบไหลเวียนของโลหิต เพิ่มออกซิเจนให้ไปเลี้ยงสมอง สมองหลาย ๆ ส่วน จึงทำงานได้ดีขึ้น

ดังนั้น ในขณะที่เด็กได้เล่นเกม การละเล่นต่าง ๆ ได้ออกแรง ได้คิดได้เคลื่อนไหว เกิดความสุข สนุกสนาน เบิกบานใจ เด็กจึงได้พัฒนาทั้งทางร่างกาย การเคลื่อนไหว การประสานสัมพันธ์กันของอวัยวะต่าง ๆ การฝึกสมองในการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การคาดคะเน การได้เล่นเป็นกลุ่ม การรับรู้กฎกติกา มารยาท การทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความสุข ร่าเริง การรับรู้ความจริงที่เป็นผลจากการกระทำทั้งในด้านบวกและด้านลบ ฝึกการให้และการรับ

เกมการละเล่น จึงเป็นกิจกรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย สำหรับการนำไปใช้ ผู้ใช้ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กโดยสังเกตความสนใจประสบการณ์เดิม ความสามารถในการรับรู้กติกาต่าง ๆ และให้สอดคล้องกับประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้


นางสาว วรรณประภา หงษ์ประไพ
ผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
1. ความหมายของนวัตกรรม 1
2. ส่วนประกอบของนวัตกรรม 1
3. ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา 1
4. นวัตกรรมปฐมวัยศึกษา 1
5. ความสำคัญของเกมการละเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย 2
6. การเล่นเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย 2
7. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย 5
8. การละเล่นมอญซ่อนผ้า 6
9. การละเล่นรีรีข้าวสาร 8
10. การละเล่นวิ่งเปรี้ยว 11
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ส่วนประกอบของนวัตกรรม
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
· ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
· ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
· ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

นวัตกรรมปฐมวัยศึกษา
นวัตกรรมปฐมวัยศึกษาในปัจจุบันนวัตกรรมการสอน แต่ละเรื่องจะทำให้ผู้สอนเลือกวิธีสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม มีตัวอย่างและข้อแนะนำการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม มีตัวอย่างและข้อแนะนำการจัดกิจกรรมประจำวัน รวมถึงการทำแบบสำรวจกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ของเด็ก

ความสำคัญของเกมการละเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้น (Active Learner) มีความสนใจใคร่รู้และไม่อยู่นิ่ง การเล่นจึงเป็นธรรมชาติของเด็กที่นำเด็กไปสู่การเรียนรู้จักโลกโดยรอบ ถึงกับมีคำพูดว่า การเล่นเปรียบเสมือนจตุรัสแห่งการเรียนรู้ของเด็ก
จากการเล่น เด็กจะได้รับการพัฒนา ดังนี้
· อารมณ์ที่ร่าเริง สนุกสนาน เบิกบาน ทำให้สุขภาพจิตดี
· การเล่นร่วมกับเพื่อนทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
· การเล่นที่มีขั้นตอน กติกา ฝึกให้รู้จักทำงานเป็นระบบและเคารพกติกา
· การเล่นฝึกให้รู้จักยอมรับผลของการกระทำ ทั้งผลบวก หรือผลที่ไม่ได้คาดหวัง
· การเล่นฝึกให้รู้จักคิดหาเหตุผล นำประสบการณ์เดิมมาเป็นพื้นฐานการแก้ปัญหา
· การเล่นสอนให้รู้จักแพ้ ชนะ ให้อภัย
· การเล่นนำมาซึ่งความภาคภูมิใจแห่งผลที่ได้รับ
· การเล่นส่งเสริมการคิด จินตนาการ และการสร้างสรรค์
· ฝึกฝนให้เป็นผู้ที่เจตคติที่ดีต่อโลก
เกมการละเล่น จึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สังคมและสติปัญญา

การเล่นเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย
คำชี้แจง
เกมการศึกษาเป็นเกมที่มีกฎกติกา และวิธีการเล่นที่เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ง่าย ๆ ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เป็นการฝึกการสังเกต การเปรียบเทียบ รูปทรง จำนวน ประเภท การหาความสัมพันธ์ การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยงเหตุผล เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับปัญหา หรือวิธีการแก้ปัญหาเดิม และคิดหาวิธีการ หรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ให้เด็กได้รู้ว่าหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้มากกว่าหนึ่งทาง และเป็นการฝึกฝนให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดหาเหตุผลอย่างรวดเร็ว และแม่นยำ รวมทั้งได้ยึดความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดซับซ้อน มากขึ้น
จุดมุ่งหมายของกิจกรรม
1. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. พัฒนาการคิดขั้นความรู้ความจำ
3. พัฒนาการคิดขั้นความเข้าใจ
4. พัฒนาการคิดขั้นการนำไปใช้
5. พัฒนาการคิดขั้นการวิเคราะห์
6. พัฒนาการคิดขั้นการสังเคราะห์
7. พัฒนาการคิดขั้นการประเมินค่า
8. เพื่อให้เด็กได้คิดวิธีการแก้ปัญหาในการเล่นเกมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันได้
9. เพื่อให้เด็กยอมรับเจตคติที่ดีต่อการเล่นเกม
10. เพื่อให้เด็กยอมรับกฎกติกาในการเล่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

ลักษณะการจัดกิจกรรม
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงหลักการพัฒนาการและเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
2. การดำเนินกิจกรรมขั้นนำ ขั้นดำเนินกิจกรรม ขั้นสรุป ครูประเมินผลเด็กโดยใช้วิธีการ สังเกตการ ถามตอบ การพบปะพูดคุย และการเขียนบันทึกเหตุการณ์ควบคู่ไปกับเด็กทำกิจกรรมนำผลที่ได้มาสะท้อนในการปรับบทบาทของครู บทบาทเด็ก และปรับกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก

หลักการจัดกิจกรรม
1. กิจกรรมนี้จัดสัปดาห์ ละ 5 วัน ได้แก่วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันละ 20 นาที
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และในระหว่างการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน ครูมีบทบาทสังเกต การถามตอบ การพบปะพูดคุย และนำข้อมูลที่ได้เขียนบันทึกเหตุการณ์
3. ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 10 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 1 ประเมินความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองนวัตกรรม
สัปดาห์ที่ 2 – 11 ทดลองนวัตกรรมเกมการศึกษา
สัปดาห์ที่ 12 ประเมินความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองนวัตกรรม

บทบาทเด็กปฐมวัย
1. ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
2. แสดงออกโดยการพูดคุย ซักถาม

บทบาทครู
1. ครูร่วมกับเด็กสนทนาเกี่ยวกับเกมใหม่
2. เปิดโอกาสให้เด็กสัมผัส /สังเกตภาพในบัตรเกมและเรียงบัตรเกมด้วยตนเอง
3. อาสาสมัครออกมาทดลองเล่นเกม พร้อมบอกวิธีการเล่นให้เพื่อน ๆ
4. เพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในการถามเด็กที่ออกมาทดลองได้
5. สร้างข้อตกลงในการเล่น
6. แบ่งเป็นกลุ่มให้เล่นด้วยกัน
7. ในขณะที่เด็กเล่นเกมครูเป็นเพียงผู้แนะนำ และอาจเข้าร่วมเล่นกับเด็ก หากสังเกตว่าเด็กยัง ไม่เข้าใจวิธีการเล่นหรือมีปัญหาในการเล่น
8. เมื่อเด็กเล่นเกมเสร็จแล้วให้เด็กเก็บเกมเข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้ง ก่อนที่จะเล่นเกมอื่น

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย

ขั้นนำ
นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการร้องเพลง การทำท่าทาง การท่องคำคล้องจอง ปริศนาคำทายหรือการใช้สื่อประกอบ

ขั้นดำเนินกิจกรรม
1. ครูแนะนำเกมการศึกษาและกิจกรรมที่เตรียมไว้
2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
3. ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมครูมีบทบาทสังเกต การถามตอบ การพบปะพูดคุย และการเขียนบันทึกเหตุการณ์ เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องและนำผลงที่ได้มาสะท้อนในการปรับบทบาทครู บทบาทเด็ก และปรับกิจกรรมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก

ขั้นสรุป
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ
2. ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมในขั้นสรุปครูมีบทบาทสังเกต การถามตอบ การพบปะพูดคุย และการเขียนบันทึกเหตุการณ์ เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องและนำผลที่ได้มาสะท้อนในการปรับบทบาทครู บทบาทเด็ก และปรับกิจกรรมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก

การวัดผลและการประเมินผล
วิธีการวัดผล
1. ใช้การประเมินความสามารถการคิด มีทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่
1. การประเมินความสามารถการคิดขั้นความรู้ความจำ จำนวน 5 ข้อ
2. การประเมินความสามารถการคิดขั้นความเข้าใจ จำนวน 5 ข้อ
3. การประเมินความสามารถการคิดขั้นการนำไปใช้ จำนวน 5 ข้อ
4. การประเมินความสามารถการคิดขั้นวิเคราะห์ จำนวน 5 ข้อ

การละเล่นมอญซ่อนผ้า


http://edtech.kku.ac.th/~s51121275011/505050347-2/Pictures/71.jpg

จุดประสงค์
1. เพื่อให้เด็กรู้จักการละเล่นในท้องถิ่น มอญซ่อนผ้าได้
2. พัฒนากล้ามเนื้อขาและมือได้
3. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน
4. เพื่อให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

เนื้อหา
การเล่นมอญซ่อนผ้า

กิจกรรม
ขั้นนำ
ครูนำภาพการละเล่นมอญซ่อนผ้ามาให้เด็กดู และร่วมกันร้องเพลงทำจังวะโดยการปรบมือ ตบตัก และย่ำเท้าเข้าจังหวะเพลงมอญซ่อนผ้า
ขั้นกิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นมอญซ่อนผ้าที่ถูกวิธีและที่ไม่ถูกวิธี
2. เด็ก ๆ เล่นสีน้ำตามอิสระ และเล่นตามมุมประสบการณ์
3. เด็ก ๆ ไดเล่นมอญซ่อนผ้า โดยจับมือกันเป็นกลุ่มใหญ่ 10-15 คน นั่งเป็นวงกลม นำอุปกรณ์การเล่นมอญซ่อนผ้า คือ ผ้า 1 ผืน อาสาสมัคร 1 คนเป็นผู้ถือผ้า
4. แบ่งกลุ่มเด็ก ๆ ออกเป็นกลุ่มละ 4 คน ช่วยกันต่อเกมหาความสัมพันธ์ภาพแบบเขาวงกตเกมสังเกตหาความสัมพันธ์ภาพ แบบอุปมา-อุปไมย

ขั้นสรุป
1. เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเล่นมอญซ่อนผ้าที่ถูกวิธี
2. จัดแสดงผลงานโดยการโชว์ผลงานการเล่นสี

สื่อประกอบการจัดกิจกรรม
1. เพลงมอญซ่อนผ้า
2. ภาพเด็กเล่นมอญซ่อนผ้า
3. สีน้ำ พู่กัน กระดาษ A 4
4. ผ้าเช็ดหน้า 1 ผืน
5. เกมหาความสัมพันธ์ภาพแบบเขาวงกต และเกมสังเกตเกมหาความสัมพันธ์ภาพแบบอุปมา-อุปไมย

การวัดและประเมินผล
สังเกตและจดบันทึกพฤติกรรม
1. กล้ามเนื้อขาและแขนสัมพันธ์กัน
2. ความรับผิชอบ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3. ความสนุกสนานในการเล่นและความสนใจ
4. การร่วมกิจกรรม
5. การเล่นเกมการศึกษา


วิธีการเล่น
เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นมอญถือผ้าไว้ ส่วนคนอื่น ๆ นั่งล้อมวงกัน แล้วตบมือร้องเพลง คนเป็นมอญจะเดินวนอยู่นอกวง พอเห็นคนนั่งคนใดเผลอก็ทิ้งผ้าไว้ข้างหลังคนนั้นแล้วเดินต่อไป ถ้ามอญเดินมาถึงอีกครั้งผู้นั้นยังไม่รู้ตัวมอญก็คว้าผ้าไล่ตี ผู้เล่นคนนั้นจะต้องวิ่งหนีไป 1 รอบ เมื่อถึงที่เดิมจึงนั่งลง ผู้ที่เป็นมอญก็ถือผ้าเดินวนไปวางผ้าคนอื่นต่อไป แต่ถ้าคนถูกวางผ้ารู้ตัวก็จะคว้าผ้าไล่ตีมอญ จนกระทั่งมอญลงไปนั่งแทนที่คนที่ถือผ้าก็เป็นมอญต่อไป

การละเล่นรีรีข้าวสาร

http://img88.imageshack.us/img88/7059/93922533ig8.png

จุดประสงค์
1. เพื่อให้เด็กรู้จักการละเล่นในท้องถิ่นรีรีข้าวสาร
2. ส่งเสริมให้มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี
3. ส่งเสริมความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
4. ส่งเสริมให้มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
5. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่ง ข้อตกลงและปฏิบัติตามได้

เนื้อหา
การละเล่นรีรีข้าวสาร

กิจกรรม
ขั้นนำ
ครูนำภาพการละเล่นรีรีข้าวสารให้นักเรียนดูและท่องคำคล้องจองรีรีข้าวสาร

ขั้นกิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นรีรีข้าวสารที่ถูกวิธีและไม่ถูกวิธี
2. เด็ก ๆ วาดภาพอิสระ และเล่นตามมุมประสบการณ์
3. สนทนาเรื่องการทำนาเด็ก ๆ จะเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการไปทุ่งนากับพ่อแม่และช่วยกันลำดับขั้นตอนของการเป็นข้าวสาร และฟังนิทานเรื่องแม่โพสพ
4. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มในการเล่นรีรีข้าวสาร ให้อาสาสมัคร 2 คนออกมาประสานมือกันทำ เป็นซุ้ม และที่เหลือเป็นผู้เล่นและช่วยกันร้องเพลงรีรีข้าวสาร
5. เด็ก ๆ จับคู่กันช่วยกันต่อเกม เกมภาพตัดต่อ เกมภาพต่อเนื่อง และเกมจับคู่ความสัมพันธ์ภาพกับสัญลักษณ์

ขั้นสรุป
1. เด็กช่วยกันสรุปการเล่นรีรีข้าวสารที่ถูกวิธี
2. แสดงผลงานการวาดภาพอิสระและเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานของตนเอง

สื่อประสานการจัดกิจกรรม
1. กลอง
2. ภาพเด็กเล่นรีรีข้าวสาร
3. คำคล้องจองรีรีข้าวสาร
4. นิทานเรื่องแม่โพสพ
5. กระดาษ A 4 สีเทียน สีไม้
6. เกมภาพตัดต่อ
7. เกมภาพต่อเนื่อง
8. เกมจับคู่ความสัมพันธ์ภาพกสับสัญลักษณ์

การวัดและประเมินผล
สังเกตและจดบันทึกพฤติกรรม
1. การสนทนาและตอบคำถาม
2. ความสนุกสนานในการเล่นรีรีข้าวสารและการรู้จักให้อภัย
3. การใช้ภาษาจากการเล่นกับเพื่อนและการเล่าผลงาน
4. ความถูกต้องของการเล่นเกม
5. การตัดสินใจการต่อเกม

วิธีการเล่น
ให้ผู้เล่น 2 คนยืนหันหน้าเข้หากันแล้วเอามือประสานไว้เหนือศีรษะเป็นซุ้มประตู ส่วนผู้เล่นอื่น ๆ เกาะไหล่กันเดินลอดซุ้มประตูพร้อมกับร้องเพลงประกอบไปด้วย พอเพลงจบคนที่เป็นซุ้มประตูก็จะลดแขนลงคร่อมตัวคนข้างหลังไว้ให้ได้ ดังนั้น คนที่อยู่หลังสุดก็จะต้องพยายามวิ่งลอดซุ้มไปให้พ้น ถ้าถูกจับตัวได้ก็จะถูกคัดออกแล้วเริ่มเล่นใหม่ต่อไป

การละเล่นวิ่งเปรี้ยว


http://www.bloggang.com/data/deawa/picture/1164170784.jpg

จุดประสงค์
1. เพื่อให้เด็กรู้จักการละเล่นในท้องถิ่นการวิ่งเปรี้ยว
2. เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อขาและมือให้มีความสัมพันธ์กัน
3. ส่งเสริมให้มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี
4. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่ง ข้อตกลงและปฏิบัติตามได้
5. ส่งเสริมให้มีคุณธรรมในด้านความอดทน การรอคอย ความเอเฟื้อเผื่อแผ่ ความรับผิดชอบ

เนื้อหา
การวิ่งเปรี้ยว

กิจกรรม
ขั้นนำ
เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง “วิ่ง วิ่ง วิ่ง” และเคลื่อนไหวประกอบจังหวะเพลง วิ่ง วิ่ง วิ่ง อย่างอิสระและเคลื่อนไหวตามผู้นำ

ขั้นกิจกรรม
1. ครูนำภาพการละเล่นในท้องถิ่นให้เด็กช่วยกันหาคำตอบว่าเป็นการละเล่นอะไร เด็ก ๆ เคยเล่นหรือไม่ และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิ่งเปี้ยวที่ถูกวิธี
2. เด็ก ๆ ปั้นอิสระ และเล่นตามมุมประสบการณ์
3. เด็ก ๆ ได้ฟังนิทานเรื่อง เพื่อนบ้านที่ดี
4. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มคละกันชายหญิงเล่นการวิ่งเปรี้ยว

ขั้นสรุป
เด็ก ๆ ช่วยกันสรุปถึงการเล่นวิ่งเปรี้ยวที่ถูกวิธี และการเล่นที่ปลอดภัย ตลอดจนประโยชน์ของการ วิ่งเปรี้ยว เด็ก ๆ ช่วยกันร้องเพลงวิ่งอีกครั้งหนึ่ง

สื่อประกอบกิจกรรม
1. กลอง
2. ภาพเด็กเล่นวิ่งเปรี้ยว
3. เพลง วิ่ง วิ่ง วิ่ง
4. นิทาน เรื่อง เพื่อนบ้านที่ดี
5. ดินน้ำมัน
6. เก้าอี้
7. ผ้าเช็ดหน้า

การวัดและประเมินผล
สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก
1. ความสนุกสนานในการเล่นวิ่งเปี้ยว
2. การสนทนา ซักถาม
3. ความสนใจในการร่วมกิจกรรม
4. กล้ามเนื้อขาและมือสัมพันธ์กัน
5. ปฏิบัติตามข้อตกลง
6. การรอคอย และการช่วยเหลือกัน

วิธีการเล่น
การเล่นวิ่งเปรี้ยว จะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ยืนอยู่ในเขตแดนของตน ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 40-50 เมตร เมื่อเริ่มเล่นให้มีผู้ออกไปอยู่ตรงกลางห่างจากผู้เล่น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน ยืนถือผ้าไว้ 2 ผืน ยื่นออกจากลำตัวไปทางซ้ายและขวาให้สุดแขน ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายเตรียมให้คนของตนออกวิ่งไปดึงผ้าเช็ดหน้าจามือคนมือถือไว้ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น ผู้ที่ออกวิ่งคนแรกของแต่ละฝ่ายต่างวิ่งไปดึงผ้าไว้ แล้วออกวิ่งกวดอีกฝ่ายหนึ่ง อ้อมคนที่ยืนเป็นหลักไปยังฝ่ายตน ส่งผ้าต่อให้ผู้วิ่งคนต่อไปที่ออกมายืนรออยู่ด้านหลังหลัก เมื่อรับผ้าแล้วต้องรีบวิ่งไปทันที หากทันฝ่ายตรงข้ามให้ใช้ผ้านั้นตีฝ่ายตรงข้ามและเป็นฝ่ายชนะทันที แต่ถ้าวิ่งไล่กันเรื่อย ๆ ไม่สามารถตีฝ่ายตรงข้ามได้ จนกระทั่งวิ่งหมดทุกคนแล้วฝ่ายไหน หมดก่อน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ แต่นิยมเล่นเอาชนะกัน คือ ต้องวิ่งกวดคนข้างหน้าให้ทันแล้วใช้ผ้าตีอีกฝ่าย ฝ่ายที่โดนตีก็จะแพ้ทันที
อ้างอิง

วัฒนา ปุญญฤทธิ์ และ เต็มสิริ เนาวรังสี. (2520). เกม การละเล่นสำหรับปฐมวัย 1. กรุงเทพฯ :
บริษัท พี ที มีเดีย จำกัด.
http://edtech.kku.ac.th/~s51121275011/505050347-2/Pictures/71.jpg
http://img88.imageshack.us/img88/7059/93922533ig8.png
http://www.bloggang.com/data/deawa/picture/1164170784.jpg

วิธีการละเล่นมอญซ่อนผ้า


การวัดและประเมินผลการละเล่นมอญซ่อนผ้า


ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป สื่อประกอบการจัดกิจกรรมการละเล่นมอญซ่อนผ้า


จุดประสงค์และกิจกรรมขั้นนำการละเล่นมอญซ่อนผ้า


การละเล่นมอญซ่อนผ้า


ลักษณะการจัดกิจกรรม